การเกิดภูเขาไฟ
เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก
โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้นสิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟระเบิดก็คือ
หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ โดยจะพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ
(หินหนืดถ้าถูกพุ่งออกมาจากบนพื้นผิวโลกเรียกว่า ลาวา
แต่ถ้ายังอยู่ใต้ผิวโลกเรียกว่า แมกมา)บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ
แนวรอยต่อระหว่างเพลตจะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟได้มากที่สุด
โดยเฉพาะบริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก
ใต้พื้นมหาสมุทรลงไปสู่บริเวณใต้เปลือกโลกที่เป็นส่วนของทวีปเพราะเปลือกโลกแผ่นเปลือกโลกที่
มุดตัวลงไปจะถูกหลอมกลายเป็นหินหนืด
จึงแทรกตัวขึ้นมาบริเวณ
ผิวโลกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น
บริเวณที่อยู่ห่างจากรอยต่อระหว่างเปลือกโลก ก็อาจเกิดภูเขาไฟได้เช่นกัน
ซึ่งเกิดขึ้นโดยกระบวนการที่หินหนืดถูกดันขึ้นมาตามรอยแยกในชั้นหิน
ตัวอย่างเช่น นักธรณีวิทยาพบว่า บริเวณจังหวัดลำปางและบุรีรัมย์
เคยมีบริเวณที่หินหนืดถูกดันแทรกขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน และมีบางแห่ง
เกิดการปะทุแบบภูเขาไฟ แต่ไม่รุนแรงมากนัก
ที่มา : http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/volcano/p1.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น